ฝ่ายผู้ขาย (เฉพาะกรณีผู้ขายมีฉโนดจริงอยู่กับตัว)
– ตั้งราคาขาย โดยประเมินดูจากราคาบ้านที่เคยขายในหมู่บ้านนั้น และดูจากบ้านสร้างใหม่ในย่านนั้น
– เตรียมติดป้าย โฆษณา ชัดเจน พร้อมทั้งโฆษณาผ่านช่องทางที่ตนถนัด เช่น เว็บไซต์
– เตรียมสำเนาฉโนด โดยให้เจ้าหน้าที่ที่กรมที่ดิน เซ็นต์หรือประทับตรารับรอง สำรองไว้สัก 6 ชุด (หรือน้อยกว่านั้น เพื่อเตรียมให้ผู้ซื้อ 1 ราย ต่อ 2 ชุด)
– ทำสัญญาจะซื้อจะขาย เพื่อให้ผู้ซื้อและผู้ขาย ตกลงราคา และค่าใช้จ่ายที่ใครจะจ่าย พร้อมการโอนน้ำและไฟเขียนครอบคลุมในสัญญา พร้อมลายเซ็นต์พยาน (ทำไว้ 2 ชุด ผู้ซื้อ 1 ชุด ผู้ขาย 1 ชุด) กำหนดระยะเวลาในการให้ยื่นกู้กับผู้ซื้อ
ผู้ซื้อ (เฉพาะกรณีต้องยื่นกู้แบงค์)
– ขอดูบ้าน ประเมินว่าต้องซ่อมหรือไม่ อะไรบ้างประเมินแล้วหักจากราคาผู้ขายตั้ง พร้อมทั้งประเมินราคากับบ้านใหม่รอบนั้นด้วยว่าคุ้มหรือไม่ กับค่าซ่อมและราคาที่ตกลงกัน
– หากตกลง นัดผู้ขายมาเซ็นต์สัญญาจะซื้อจะขาย พร้อมทั้งระบุการจ่ายส่วนต่าง ๆ ให้ชัดเจน (ค่าโอน ค่าภาษี ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ) ซึ่งโดยปกติ ค่าภาษีและค่าภาษีธุรกิจเฉพาะหน้าที่ผู้ขาย ค่าโอนตกลงกันเอง ส่วนใหญ่ค่าไฟและน้ำผู้ขายจะโอนสิทธิ์ให้ด้วย
– ผู้ซื้อนำสัญญาจะซื้อจะขายและสำเนาฉโนดที่เซ็นต์จากเจ้าหน้าที่กรมที่ดิน และเอกสารประกอบอื่น ๆ เช่น สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านทุกหน้า สลิปเงินเดือนตัวจริงย้อนหลัง 3 เดือน สำเนาบัญชีเงินฝากอื่น ๆ ที่แบงก์ต้องการย้อนหลัง 6 เดือน ฯลฯ
– ผู้ซื้อไปธนาคารเพื่อยื่นเอกสาร พร้อมสอบถามแบงก์ในสิ่งที่อยากทราบ
– แบงค์จะนัดวันส่งเจ้าหน้าที่มาประเมินบ้าน ต้องเสียค่าประเมินด้วย
– แบงค์จะนัดวันทำสัญญา หากเรื่องผ่านการอนุมัติแล้ว พร้อมนัดวันโอนกับแบงค์และผู้ขายให้ทราบ จ่ายค่าทำสัญญา
ที่กรมที่ดิน
– นัดทุกฝ่ายไปที่กรมที่ดิน ผู้ขายเตรียมฉโนดตัวจริง พร้อมสำเนาฉโนด และสำเนาทะเบียนบ้าน และบัตร
– ผู้ซื้อพบเจ้าหน้าที่แบงค์ เจ้าหน้าที่แบงค์จะให้เซ็นต์ชื่อในสัญญากู้ที่กรมที่ดินอีกครั้ง หลายหน้า
– เจ้าหน้าที่จะเตรียมบัตรคิวให้กับผู้ซื้อและผู้ขายพบเจ้าหน้าที่กรมที่ดิน เพื่อสอบถามราคา และดูยอดประเมินที่กรมที่ดินอีกครั้ง เพื่อจ่ายเป็นค่าโอน 2%
– ผู้ซื้อต้องจ่ายค่าจดจำนองวันนี้ ที่กรมที่ดิน และผู้ขายก็จ่ายตามที่ตกลงในสัญญา
– ผู้ซื้อต้องเก็บสัญญาซื้อขายที่กรมที่ดินออกให้ไว้ เพื่อเป็นหลักฐาน
– เจ้าหน้าที่จะทำการแก้ไขจดจำนองแบงค์และชื่อผู้ซื้อจะอยู่ในนั้นหลังฉโนด จากนั้นนำฉโนดไปให้เจ้าหน้าที่แบงค์ และถ่ายสำเนาฉโนดผู้ซื้อและผู้ขายเก็บไว้
– จ่ายค่านิติกรรมให้แบงก์ แล้วก็นำสัญญาเงินกู้กับสำเนาฉโนด และสัญญาซื้อขายตัวจริงเก็บไว้
– สรุปผู้ซื้อจะได้สัญญาเงินกู้ และสำเนาฉโนดที่สลักหลังเป็นชื่อผู้ซื้อโดยมีผู้รับจำนองไว้คือแบงก์
ขั้นต่อไป
– ทำการโอนสิทธิ์น้ำประปาและไฟ โดยเอกสารสำเนาสัญญาซื้อขายที่ได้จากกรมที่ดิน เตรียมไว้สำหรับโอนน้ำและไฟที่ละ 1 ชุด
– สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ซื้อ 2 ชุด ผู้ขาย 2 ชุด สำหรับโอนน้ำ
– สำเนาบัตรประชาชนผู้ซื้อ 2 ชุด ผู้ขาย 2 ชุด สำหรับโอนไฟฟ้า
– ใบเสร็จค่าน้ำไฟเดือนล่าสุด และใบประกันน้ำและไฟ
– กรณีผู้ขายไม่ไปด้วยต้องมีหนังสือมอบอำนาจจากผู้ขายเขียนและเซ็นต์ชื่อไว้ เตรียมล่วงหน้าเลยก่อนไปกรมที่ดิน
จากนั้นโอนน้ำไฟเสร็จก็ค่อยไปทำทะเบียนใหม่ที่สำนักงานเขต โดยนำสำเนาสัญญาซื้อขายที่ได้จากกรมที่ดิน พร้อมตัวจริง สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน เพื่อยื่นเรื่องขอทะเบียนบ้านใหม่ และย้ายปลายทางได้เลย เสียค่าทำประมาณ 40 บาท
เป็นอันว่าเรียบร้อยสำหรับการซื้อบ้านมือสองสักหลัง
ใส่ความเห็น